Cloud Computing คืออะไร?
ทุกวันนี้ปฏิเสธไม่ได้แล้วว่า
เราใช้ข้อมูลในการตัดสินใจสิ่งต่างๆมากขึ้น หากพูดถึงว่า คลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) คืออะไร? หลายคนอาจจะนึกถึงแค่บริการพื้นที่ฝากไฟล์บนอินเทอร์เน็ต
อย่าง iCloud บน iPhone, iPad หรือ Google
Drive บน Android หรือ OneDrive บนมือถือ Windows Phone ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือบริการ Cloud
Storage อันเป็นบริการ Cloud ประเภทหนึ่งเท่านั้น
แต่อันที่จริงแล้ว บริการ Cloud Computing มีความหมายกว้างขวางกว่านั้นมาก
Cloud Computing คือ
การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ เป็นลักษณะการทำงานโดยใช้ทรัพยากรต่างๆ ที่มีอยู่มากมายบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
เช่น พื้นที่เก็บข้อมูล แพลตฟอร์มทางธุรกิจ แอปพลิเคชัน พาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์
การตลาดออนไลน์
ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์สามารถเลือกใช้งานได้ผ่านผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต
(Internet Service Provider : ISP) ที่ให้บริการใดบริการหนึ่งกับผู้ใช้
โดยผู้ให้บริการจะแบ่งปันทรัพยากร ให้กับผู้ต้องการใช้งานนั้น
และจ่ายค่าบริการตามการใช้งานจริง หรือให้เข้าใจง่ายๆ คือระบบโปรแกรม คอมพิวเตอร์ที่ประมวลผลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
และรับข้อมูลแสดงผลผ่านเว็บเบราว์เซอร์ ซึ่งเดิมการ ประมวลผลจะทำบนเครื่องคอมพิวเตอร์
ผู้ใช้ต้องติดตั้งโปรแกรมและเปิดใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น การใช้งานโปรแกรม
Microsoft Office (Word, Excel, PowerPoint ฯลฯ) แต่ Cloud
Computing จะเรียกใช้งานโปรแกรมต่างๆ ผ่านทางอินเทอร์เน็ต
ตามแต่ผู้ให้บริการจะเตรียมไว้ให้ เช่น Google Docs, Office 365 โดยใช้อุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้
รู้จักคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) แบบเข้าใจง่าย
Cloud Computing คือการที่เราใช้ซอฟต์แวร์,
ระบบ, และทรัพยากรของเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ
ผ่านอินเทอร์เน็ต โดยสามารถเลือกกำลังการประมวลผล เลือกจำนวนทรัพยากร
ได้ตามความต้องการในการใช้งาน และให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลบน Cloud จากที่ไหนก็ได้ ดังแผนภาพด้านล่างนี้นั่นเอง
จากภาพด้านบนนี้
จะเห็นว่าด้านในของกรอบที่เป็นก้อนเมฆก็คือทรัพยากรของผู้ให้บริการที่มีทั้ง Hardware
และ Software (ซึ่งก็ทำงานบน Hardware ของผู้ให้บริการเช่นกัน) ผู้ใช้บริการเพียงแค่ต่อเชื่อมเข้าไปใช้ผ่าน Network
ด้วยเว็บบราวเซอร์ หรือ Client แอพพลิเคชั่น
บนอุปกรณ์ต่างๆของตน เช่น มือถือ, Tablet, Notebook, หรือ Chromebook
เป็นต้น ก็สามารถเข้าถึงข้อมูลของตัวเองได้
ทำไมบริการ คลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) จึงได้รับความนิยม?
Cloud Computing คือบริการที่เราใช้หรือเช่าใช้ระบบคอมพิวเตอร์หรือทรัพยากรด้านคอมพิวเตอร์
ของผู้ให้บริการ เพื่อนำมาใช้ในการทำงาน โดยที่เราไม่จำเป็นต้องลงทุนซื้อ Hardware
และ Software เองทั้งระบบ
ไม่ต้องวางระบบเครือข่ายเอง ลดความรับผิดชอบในการดูแลระบบลง
(เพราะผู้ให้บริการจะเป็นผู้ดูแลให้เอง) แถมตอนอัพเกรดระบบยังทำได้ง่ายกว่า
ผู้ใช้ทุกคนสามารถเข้าถึงระบบ ข้อมูลต่างๆ ผ่านอินเทอร์เน็ต สามารถจัดการ
บริหารทรัพยากรของระบบ ผ่านเครือข่าย และมีการแบ่งใช้ทรัพยากรร่วมกัน (shared
services) ได้ด้วย และการจ่ายเงินเพื่อเช่าระบบ
ก็สามารถจ่ายตามความต้องการของเรา ใช้เท่าไหร่ จ่ายเท่านั้นได้
หากวันใดความต้องการมีมากขึ้นก็สามารถซื้อเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มศักยภาพของระบบ Cloud
Computing ได้ โดยที่ไม่ต้องอัพเกรดระบบ
และเครื่องคอมพิวเตอร์ให้วุ่นวาย ดังนั้น ธุรกิจขนาดเล็ก และขนาดกลาง
รวมไปถึงสถาบันการศึกษา จึงหันมาใช้บริการ Cloud Computing ที่ทั้งช่วยลดต้นทุนและลดความยุ่งยากทั้งหลายกันมาก
คล้ายกับเป็นการ Outsource งานนี้ออกไปเพื่อจะได้ Focus
กับงานหลักของตนเองจริงๆ
รูปแบบการให้บริการของ Cloud Computing (Cloud Service Models)
บริการ Cloud
Computing มีหลากหลายรูปแบบ แต่ในที่นี้ เราขอพูดถึงรูปแบบหลักๆ 3
แบบได้แก่
Infrastructure as a Service (IaaS)
เป็นบริการเฉพาะส่วนโครงสร้างพื้นฐาน
ได้แก่ ระบบเครือข่าย (Network), ระบบจัดเก็บข้อมูล(Database),
ระบบประมวลผล (CPU) ไปจนถึงอุปกรณ์พื้นฐาน
เช่น Servers และ ระบบปฏิบัติการ (OS) ที่รองรับการใช้งานร่วมกับ
Software และ Application ต่าง ๆ ในรูปแบบระบบเสมือน
(Virtualization)
สิ่งที่ผู้ใช้บริการจะได้รับจาก IaaS
คือ โครงสร้างพื้นฐานทางด้านไอที รวมถึงการใช้งานคอมพิวเตอร์ เสมือนที่สามารถกำหนดสเปกได้
โดยไม่จำเป็นต้องลงทุนซื้อ Hardware ที่มีราคาแพง นอกจากนี้ยังสามารถปรับเปลี่ยนสเปกให้เหมาะสมกับการใช้งานที่เปลี่ยนไปได้อีกด้วย
ข้อดีคือองค์กรไม่ต้องลงทุนสิ่งเหล่านี้เอง, ยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างระบบไอทีขององค์กรในทุกรูปแบบ, สามารถขยายได้ง่าย ขยายได้ทีละนิดตามความเติบโตขององค์กรก็ได้ และที่สำคัญ ลดความยุ่งยากในการดูแล เพราะหน้าที่ในการดูแล จะอยู่ที่ผู้ให้บริการ
ตัวอย่างเช่น
บริการ Cloud
storage อย่าง DropBoxซึ่งให้บริการพื้นที่เก็บข้อมูลนั่นเอง
แต่นอกจากนี้ก็ยังมีบริการให้เช่ากำลังประมวลผล, บริการให้เช่า
เซิร์ฟเวอร์เสมือน เพื่อใช้ลงและรันแอพพลิเคชั่นใดๆตามที่เราต้องการไม่ว่าจะเป็น Web
Application หรือ Software เฉพาะด้านขององค์กร
เป็นต้น
ตัวอย่างบริการอื่นๆในกลุ่มนี้ก็เช่น
Google
Compute Engine, Amazon Web Services, Microsoft Azure
Platform as a Service (PaaS)
เป็นการให้บริการด้านแพลตฟอร์ม
สำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชัน โดยผู้ให้บริการจะจัดเตรียมสิ่งที่จำเป็นต้องใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชัน
เช่น เว็บ แอปพลิเคชัน เซิร์ฟเวอร์ที่จัดเก็บฐานข้อมูล
ระบบประมวลผลกลางสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ และ Middleware อื่นๆ โดยบริการทั้งหมดทำงานภายใต้ระบบรักษาความปลอดภัยเครือข่าย และ สามารถเรียกใช้งานได้ผ่านเว็บแอปพลิเคชัน
ตัวอย่าง เช่น Google
App Engine, Microsoft Azure ที่หลายๆบริษัทนำมาใช้เพื่อลดต้นทุนและเป็นตัวช่วยในการทำงาน
Application ดังๆหลายตัวเช่น Snapchat
ก็เลือกเช่าใช้บริการ PaaS อย่าง Google
App Engine ทำให้สามารถพัฒนาแอพที่ให้บริการคนจำนวนมหาศาลได้ โดยใช้เวลาพัฒนาไม่นานด้วยทีมงานแค่ไม่กี่คน
Software as a Service (SaaS)
เป็นบริการ Software
บนระบบ Cloud ที่ผู้ให้บริการจะรับผิดชอบดูแลทุกอย่าง
ตั้งแต่เรื่องของระบบเครือข่าย, Server, Hardware ไปจนถึงการออกแบบพัฒนา Software ต่าง ๆ ผู้ใช้บริการจึงไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านไอทีเพื่อดูแลระบบด้วยตัวเอง
เพียงแค่เรียนรู้วิธีการใช้งานเบื้องต้น
เนื่องจาก SaaS
เป็นบริการที่ไม่มีความซับซ้อน อีกทั้งยังเป็นรูปแบบ Software
ที่พร้อมให้บริการอย่างหลากหลาย บริการ Cloud ประเภทนี้จึงเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินธุรกิจมากมายในปัจจุบัน
ซึ่งบริการ Software
as a Service ที่ใกล้ตัวเรามากทื่สุดก็คือ GMailนั่นเอง หรือ Google Apps ที่เป็นรูปแบบของการใช้งานซอฟต์แวร์ผ่านเว็บบราวเซอร์
สามารถใช้งานเอกสาร คำนวณ และสร้าง Presentation โดยไม่ต้องติดตั้งซอฟต์แวร์บนเครื่องเลย
แถมใช้งานบนเครื่องไหนก็ได้ ที่ไหนก็ได้ แชร์งานร่วมกันกับผู้อื่นก็สะดวก
ซึ่งการประมวลผลจะทำบน Server ของ Google ทำให้เราไม่ต้องการเครื่องที่มีกำลังประมวลผลสูงหรือพื้นที่เก็บข้อมูลมากๆในการทำงาน
Chromebook ราคาประหยัดซักเครื่องก็ทำงานได้แล้ว
มหาวิทยาลัยทั้งในไทยและต่างประเทศหลายแห่งในปัจจุบัน ก็ยกเลิกการตั้ง Mail
Server สำหรับใช้งาน e-mail ของบุคลากร
และนักศึกษาในมหาวิทยาลัยกันเองแล้ว แต่หันมาใช้บริการอย่าง Google Apps แทน เป็นการลดต้นทุน, ภาระในการดูแล, และความยุ่งยากไปได้มาก
เราได้ประโยชน์อะไรจาก Cloud Computing ?
1.
เพิ่มความสะดวกให้กับผู้ที่ต้องนางานกลับมาทำที่บ้าน หรือ เดินทางบ่อยๆ
2.
ไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมลงในคอมพิวเตอร์
3.
มีบริการและแอพพลิเคชั่นที่หลากหลาย
4. สามารถในการจัดระเบียบสิ่ง ต่างๆ
ให้เป็นระบบดียิ่งขึ้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริหารจัดการและจัดเก็บข้อมูลมากมายหลากหลาย ประเภทให้
เป็นระบบ ซึ่งช่วยให้การค้นหาและเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้ทำได้เร็วและถูกต้องแม่นยำ กว่าเดิม
5. การลดต้นทุนให้กับองค์กร
เพราะไม่ต้องซื้อและดูแล Server เป็นจำนวนมาก
6. การ Deploy ขึ้น Production Server ที่กว่าเราจะเตรียมเครื่องเสร็จคงใช้เวลาไม่น้อย
แต่ถ้าเปลี่ยนมาใช้ Cloud เวลาในการเตรียมจากเป็นหลัก วัน
หรือสัปดาห์ (ในระบบที่มีขนาดใหญ่มาก ๆ) จะเหลือเพียงแค่หลัก วินาที
ถึงนาทีเท่านั้น ส่งผลให้สามารถลด Operation Cost ได้
เมื่อเราทำการกองข้อมูลรวมกัน ทำให้ Cloud นั้นเหมือนกับ กองข้อมูลขนาดใหญ่ ที่สามารถเอามาทำอะไรได้มากมาย
ตัวอย่างเช่น Google Photo ที่ให้เราสามารถอัพโหลดรูปภาพได้ฟรี
แต่จริง ๆ แล้ว Google ก็ได้รูปภาพมาให้คอมพิวเตอร์ของ Google
เรียนรู้ ทำให้มันสามารถสร้างภาพ
หรือบอกได้แม้กระทั่งว่าในรูปภาพนั้นมีอะไร ถ้าในฝั่งของ Computer Science คือเรื่องขอ Artificial Intelligence (AI) ที่จะเข้าเป็นส่วนสำคัญกับชีวิตประจำวันของเราในอีกไม่ช้า
Cloud Computing ปลอดภัยแค่ไหน
?
แน่นอนว่า
การที่เราสามารถเข้าถึงก้อนเมฆของเราได้ตลอดเวลา ผู้ไม่ประสงค์ร้าย (Hacker) ก็สามารถโจมตีเราได้ตลอดเวลาเช่นกัน ฉะนั้นเรื่องของระบบรักษาความปลอดภัยจึงเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญมาก
การใช้ Cloud Computing นั้น เปรียบเสมือนกับการย้าย Internal
Server ไปอยู่บน Network ภายนอก
(ขึ้นอยู่กับชนิดของ Cloud ว่าเป็น Private Cloud,
Public Cloud) ซึ่งถ้านำไปใช้ภายในเอง ก็จะเป็น Private
Cloud ก็น่าจะตอบโจทย์ของทางลูกค้าได้ครับ
(เพราะว่าผู้ดูแลระบบเป็นคนจัดการ Resource ทั้งหมดเอง
ซึ่งการลงทุนจะสูงมาก)แต่ถ้ามองแบบ Public Cloud ก็จะเหมือนเป็นการเช่า
Virtual Private Server ภายนอกครับ การลงทุนจะต่ำ
(กว่าการซื้อ Server เอง) แต่จะต้องเน้นเรื่องระบบ Security
รวมไปถึงแง่กฎหมายประกอบด้วย
ดังนั้น การพิจารณาใช้ Cloud ขึ้นอยู่กับความสำคัญของข้อมูลเป็นหลัก
หากข้อมูลนั้นสำคัญไม่มาก (อย่างเช่น หน้า Website บริษัท)
ก็สามารถย้ายไปอยู่บน Public Cloud ได้
แต่ถ้าเป็นพวกข้อมูลด้านการเงิน อาจจะมองเป็น Private Cloud หรือเป็น
Physical Server
ในระบบ Cloud ของผู้ให้บริการ Public Cloud เจ้าใหญ่ ๆ ในปัจจุบัน ก็มีระบบรักษาความปลอดภัยที่ค่อนข้างจะแข็งอยู่แล้ว
เผลอ ๆ มากกว่าบางระบบที่ธุรกิจรายเล็ก ๆ ใช้อยู่ซะอีกแต่ในบริษัทที่ใหญ่มาก ๆ
มันคนละเรื่องกัน เพราะพวกเขามี เงิน ในการลงทุนซื้อ Server และระบบรักษาความปลอดภัยมาใช้เอง
ฉะนั้นการเก็บข้อมูลเองในบริษัทอาจจะปลอดภัยกว่าการเก็บไว้บน Public Cloud อาจจะทำให้บริษัทใหญ่ ๆ พวกนี้จะต้องตัดสินใจเลือก
การใช้งานตามแต่บริษัทนั้นเอง
การเลือกใช้ Cloud ในองค์กร
อ่านมาถึงตอนนี้
บางคนก็น่าจะกำลังคิดว่า ถ้าองค์กรสักที่หนึ่งต้องการเปลี่ยนมาใช้ Cloud จะต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง ?
อย่างแรก
และเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การประเมินความลับของข้อมูล ถ้าข้อมูลในองค์กรเราเป็นข้อมูลที่ต้องเป็นความลับ
และมีความอ่อนไหวสูง การไปเช่า Public Cloud อาจจะไม่ใช่คำตอบเท่าไหร่
อาจจะมีการลงทุนเพื่อสร้าง Private Cloud หรือ
อาจจะทำออกมาให้รูปแบบของ Hybrid Cloud เพื่อลดค่าใช้จ่ายก็ได้เช่นกัน
เรื่องถัดมาคือเรื่องของ ค่าใช้จ่าย ใน Cloud Service นั้นจะมีรูปแบบการคิดเงินที่เรียกว่า Pay-as-you-go หรือก็คือ จ่ายเท่าที่ใช้ ซึ่งในเว็บของผู้ให้บริการ Cloud ก็จะมีหน้าสำหรับการคำนวณค่าใช้จ่ายล่วงหน้า ดังภาพด้านบนที่เป็นของ Google
Cloud ที่เราแค่ป้อนว่าเราจะใช้อะไรบ้าง เท่าไหร่ ลงอะไรบ้าง
ตัวเว็บก็จะคำนวณราคาออกมาให้เรา
จากเรื่องค่าใช้จ่ายจึงทำให้ไปในประเด็นต่อไปคือ ความคุ้มค่า อันนี้ก็อยู่ที่จะประเมินกันในองค์กรแล้วว่า การย้ายระบบขึ้น Cloud
มันคุ้มรึเปล่า แต่กับ Startup และ
ธุรกิจขนาดเล็กที่ยังไม่ค่อยได้มีทรัพยากรทางด้านไอทีมาก การหันมาใช้ Cloud
ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดี
เพราะเราไม่ต้องจ้างคนเพิ่มมาดูแลระบบให้เรามากนัก และราคาในการเช่าก็ถูกมากกว่า
การซื้อ Server ทั้งเครื่องมารัน ไหนจะค่าไฟ ค่าอุปกรณ์
และอีกหลาย ๆ ปัจจัยที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เช่น Server มีขนาดไม่พอรองรับคน
ณ ขณะนั้น หรือไฟดับอะไรขึ้นมา
Case Study : Cloud Computing กับ CRM ในยุคปัจจุบัน
ในยุคปัจจุบันที่คอมพิวเตอร์เล็กและราคาถูกลง
และอินเตอร์เน็ตกลายเป็นปัจจัยพื้นฐานของผู้คนในปัจจุบัน
ทำให้จำนวนคนที่สามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ต นั้นเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ
และทำให้เกิดอีกสิ่งที่ทำให้โลกอินเตอร์เน็ตนั้นเดินหน้าต่อไปได้นั่นคือ User Generated Content (UGC)หรือข้อมูลที่
User เป็นผู้สร้างนั่นเอง
สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาคือ
เรามีข้อมูลจำนวนมากวิ่งผ่านอินเตอร์เน็ตของเรามากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งข้อมูล (Data) เหล่านี้
ถ้าแค่วิ่งผ่านมันอาจจะไม่มีค่าอะไร แต่ถ้าเราสามารถค้นหาความหมายจากข้อมูลนั้นและแปลงมันให้กลายเป็น
ข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ต่อได้ (Information) มันจะช่วยพลักดันในภาคธุรกิจมากแค่ไหนเชียว
ทุกวันนี้ หลาย ๆ บริษัทใหญ่ ๆ
ก็เริ่มเปลี่ยนแปลงเพื่อตอบรับกับเทรนดังกล่าว โดยเริ่มนำข้อมูลของลูกค้ามาประมวลผล
เรียนรู้ เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าของตน อาจจะมองภาพไม่ออก
ลองมาดูตัวอย่างกันดีกว่า
คงไม่มีใครในที่นี้ไม่รู้จักเว็บ E-Commerce ชื่อดังอย่าง Amazon
แน่นอน เพราะเขาขายของมันแทบจะทุกอย่าง แต่ต้นจริง ๆ
ของเขาเกิดจากการเป็นเว็บเพื่อขายหนังสือ ในตอนนี้ Amazon มีสำนักงาน
และ Werehouseอยู่หลายแห่งทั่วโลก พร้อมกับมีหลาย ๆ บริการ
เช่น Amazon Fulfillment ที่เป็นบริการ
จัดการ และส่งสินค้าให้กับผู้ขายในที่ต่าง ๆ ทั่วโลก และตัวบริษัท Amazon เองก็ต้องรับลูกค้าเป็นจำนวนมากทุกวัน หนักกว่านั้นคือช่วงเทศกาลที่คนแห่เข้ามาสั่งซื้อของเข้ามาเป็นจำนวนมากกว่าปกติถึงหลายเท่าตัว
ถ้าเราเข้าไปซื้อของในเว็บ Amazon ในหน้าแรกเลย จะเห็นสินค้าที่เราเคยค้นหา
หรือเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เราเคยค้นหามาก่อน วางอยู่บนหน้าแรก
สร้างกิเลสให้เราเข้าไปกดซื้อกันเลยทีเดียว
หรือถ้าเราเข้าไปในหน้าของลายละเอียดสินค้านั้น
ๆ เลื่อนลงมาหน่อย ก็จะเจอประมาณว่า ซื้อพร้อมกัน 3
ชิ้นนี้สิ ลดราคาด้วยนะ มันก็ตามมาสร้างกิเลสของเราไปเรื่อย ๆ
(มือมันสั่นไปหมด อยากกด Purchase) กันเลยทีเดียว
สิ่งที่ต้องการจะบอกคือ
ถ้าเป็นเมื่อก่อน จริงอยู่ที่เราอาจจะเก็บ Transaction
ในการเข้าถึงเว็บไซต์ของลูกค้าแต่ละคนได้
แต่คงจะไม่มีพลังในการประมวลผลที่เพียงพอในการจะแนะนำสินค้าที่เหมาะกับคนทีละคน
เป็นจำนวนหลายแสนคนได้แน่ ๆ
แต่ด้วย Cloud Computing การประมวลผลข้อมูลในระดับนี้มันจะหลายเป็นเรื่องจิ๋วไปเลย
เพราะคอมพิวเตอร์ที่มาใช้ในการประมวลผลมีจำนวนมากขนาดตั้งเป็น Data Centre กันเลยทีเดียว และไม่ได้มี Data Centre ที่เดียว
แต่มีอยู่หลายที่กระจายอยู่ทั่วโลกเลย
ซึ่งใน Case นี้ Cloud Computing ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า
Customer Personalisationขึ้นมา
ทำให้ลูกค้านั้นมีประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น
และระบบนี้ได้เพิ่มยอดขายให้กับ Amazon ได้อย่างมหาศาล
Case Study : Amazon EC2
อย่างที่บอกไปใน Case Study ว่า Amazon นั้นต้องรับลูกค้าที่เข้ามาซื้อของเป็นจำนวนมากแต่ละวัน
ซ้ำร้ายกว่านั้น ในช่วงเทศกาล จะมีผู้เข้ามาซื้อของมากกว่าปกติหลายเท่าตัว
ทำให้อาจจะประสบปัญหา Server ไม่สามารถรองรับจำนวนคนใช้ที่มากขนาดนั้นได้ ทำให้ Amazon
ต้องหาทางแก้ไขปัญหานี้ โดยการ ซื้อ Server เพิ่มมันเลย แต่มันทำให้วิ่งไปหาอีกปัญหาอีก
เพราะคนจะเข้ามาใช้เยอะในช่วงเทศกาลเท่านั้น แต่เทศกาลมันไม่ได้มีทุกวันนี่หว่า !! มันทำให้ Amazon ต้องเสีย Operation Cost ในการดูแล Server ทั้งหมด
แต่ใช้อยู่ไม่ถึงครึ่งเท่านั้น มันจะกลายเป็นการสิ้นเปลืองไปเลย
ในเมื่อ Processing Power มันเหลือในช่วงที่ไม่ใช่เทศกาล
Amazon ก็เอามาเปิดให้บริการเป็น Cloud ซะเลยในชื่อของ Amazon
EC2 จนถึงตอนนี้ Cloud
ของ Amazon ก็กลายเป็น Cloud Provider อีกหนึ่งเจ้าที่ได้รับความนิยมอยู่สูงมาก
ข้อดีของ Cloud Computing
1. ลดต้นทุนค่าดูแลบำรุงรักษาเนื่องจากค่าบริการได้รวมค่าใช้จ่ายตามที่ใช้งานจริง
เช่น ค่าจ้างพนักงาน ค่าซ่อมแซม ค่าลิขสิทธิ์ ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง
ค่าอัพเกรด และค่าเช่าคู่สาย
2. ลดความเสี่ยงจากการเริ่มต้น
หรือการทดลองโครงการ
3. มีความยืดหยุ่นในการเพิ่มหรือลดระบบตามความต้องการ
4. ได้เครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่มีประสิทธิภาพ
มีระบบสำรองข้อมูลที่ดี มีเครือข่ายความเร็วสูง
5. มีผู้เชี่ยวชาญดูแลระบบและพร้อมให้บริการช่วยเหลือ
24 ชั่วโมง
ข้อเสียของ Cloud Computing
1. เนื่องจากเป็นการใช้ทรัพยากรที่มาจากหลายที่หลายแห่งทำให้อาจมีปัญหาในเรื่องของความต่อเนื่อง
และความเร็วในการเข้าถึงทรัพยากรมากกว่าการใช้บริการแม่ข่ายที่อยู่ภายในองค์กร
2. ยังไม่มีการรับประกันในการท
างานอย่างต่อเนื่องของระบบและความปลอดภัยของข้อมูล
3. แพลตฟอร์มยังไม่มีมาตรฐาน
ทำให้ผู้ใช้มีข้อจำกัดสำหรับตัวเลือกในการพัฒนาหรือติดตั้งระบบ
สรุป
จากที่ได้เล่ามาทั้งหมดเป็นบอกได้เลยว่า
Cloud Computing เป็นเทคโนโลยีที่กำลังมาแรง
และเข้ามามีบทบาทกับชีวิตประจำวันของเรา
ในทุกขณะที่เรายังเสพข้อมูลจากโลกอินเตอร์เน็ตอยู่
มันซ่อนอยู่โดยที่เราไม่รู้ตัวเลยว่าเรากำลังใช้งานมันอยู่
และเปลี่ยนชีวิตของเราไปได้อย่างไร ทางฝั่งของธุรกิจ
ก็ทำให้สามารถเข้าใจฐานลูกค้าของตนเองได้มากขึ้น
ส่งผลให้ธุรกิจสามารถทำกำไรได้มากขึ้นเหมือนกับที่ยกตัวอย่าง Amazon ไป
บล็อกนี้ใช้เพื่อการศึกษา ไม่ได้ประสงค์เพื่อแสวงหากำไรใดๆทั้งสิ้น
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น